กฏหมายแรงงาน 6 ข้อ ที่ลูกจ้างต้องรู้ก่อนเริ่มทำงาน

กฎหมายแรงงาน

ในปัจจุบันที่บริษัทต่างๆพยายามที่จะบริหารธุรกิจเพื่อให้ได้กำไรสูงสุดนั้น สิ่งที่ขาดไม่ได้ในการดำเนินธุรกิจให้เกิดผลกำไรคือลูกจ้าง ซึ่งบริษัทอาจจะละเลยหรือให้ลูกจ้างทำงานหนักเกินไป ทั้งนี้ลูกจ้างบางคนอาจจะลืมหรือไม่รู้ว่ามีกฎหมายแรงงานที่คอยปกป้องสิทธิและประโยชน์ของตัวลูกจ้าง เช่น เวลาในการทำงานต่อวัน หรือ ถ้าทำงานล่วงเวลาต้องได้ค่าตอบแทนเพิ่มขึ้น และสิทธิประโยชน์อีกหลายข้อที่กฎหมายแรงงานบัญญัติขึ้นมาเพื่อไม่ให้ลูกจ้างทำงานหนักเกินไป

กฎหมายแรงงานคืออะไร ทำไมเราต้องรู้?

กฎหมายแรงงานคือ กฎหมายที่กำหนดขอบเขต ระยะเวลา วันหยุด วันลาและค่าตอบแทนในการทำงานของลูกจ้าง เพื่อให้การจ้างงานเป็นไปอย่างเหมาะสม และถ้าบริษัทหรือนายจ้างไม่ปฎิบัติตามจะมีโทษตามกฎหมาย เรามาดูกันว่ากฎหมายแรงงานที่เราต้องรู้ก่อนเริมทำงานมีอะไรบ้าง

1. สัญญาการจ้างงาน

สัญญาจ้างงานคือ สัญญาที่ลูกจ้างและนายจ้างได้ตกลงกัน ว่าลูกจ้างจะทำงานให้กับนายจ้างตามที่ตกลงกันไว้และนายจ้างจะจ่ายค่าตอบแทนให้กับลูกจ้างในจำนวนที่ได้ตกลงกันไว้ตลอดระยะเวลาที่ลูกจ้างได้ทำงานให้นายจ้าง ซึ่งสัญญาจ้างงานไม่จำเป็นต้องเป็นเอกสารที่เป็นลายลักษณ์อักษร ถ้าลูกจ้างเริ่มทำงานให้นายจ้างจะถือว่าสัญญาจ้างเกิดขึ้นแล้ว

2. กำหนดเวลาทำงานและการพักผ่อนของลูกจ้าง

ลูกจ้างนั้นไม่ใช่เครื่องจักรที่สามารถทำงานได้ต่ออย่างเนื่อง ดังนั้นกฎหมายเลยมีกำหนดระยะเวลาการทำงานและการพักผ่อนของลูกจ้างตามนี้

  • งานด้านพาณิชกรรมหรืองานทั่วไป (เช่น นักบัญชี, นักการตลาด, เซลและอื่นๆ) อยู่ที่วันละไม่เกิน 9 ชั่วโมง หรือไม่เกิน 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (5 วันต่อสัปดาห์)
  • งานด้านอุตสาหกรรมไม่เกินสัปดาห์ละ 48 ชั่วโมง (5 วันต่อสัปดาห์)
  • งานขนส่งไม่เกินวันละ 8 ชั่วโมง
  • งานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกายตามที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด (หัวข้อที่ 1 เวลาทำงานปกติ) ต้องไม่เกินสัปดาห์ละ 42 ชั่วโมง

*ลูกจ้างต้องมีเวลาพักผ่อนอย่างน้อย 1 ชั่วโมงต่อวัน หลังจากทำงานไปแล้วไม่เกิน 5 ชั่วโมง)

3. การทำงานล่วงเวลา และค่าทำงานล่วงเวลา

ในโลกของการทำงานนั้นการทำงานล่วงเวลาถือเป็นเรื่องปกติ ซึ่งกฎหมายแรงงานได้มีกำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าทำงานล่วงเวลาให้กับลูกจ้างทั้งในวันธรรมดาและวันหยุด การคำนวณค่าทำงานล่วงเวลาจะแยกคิดออกเป็นราคาของลูกจ้างรายเดือนและลูกจ้างรายวันในบทความนี้จะเน้นที่การคำนวณของลูกจ้างรายเดือน หากต้องการดูราคาค่าทำงานล่วงเวลาของลูกจ้างรายวันสามารถดูได้ที่ “วิธีคิดค่าโอทีรายวัน รายเดือน และการคิดโอทีวันหยุด

กรณีให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาต่อจากเวลาทำงานปกติไม่น้อยกว่า 2 ชม. ต้องจัดให้ลูกจ้างพักก่อนเริ่มทำงานล่วงเวลาไม่น้อยกว่า 20 นาที

  • ถ้าทำงานเกินเวลาปกติของวันทำงาน(ทำงานหลังเวลาเลิกงาน) จะได้รับค่าจ้างจำนวน 1.5 เท่าของค่าจ้างเป็นรายชั่วโมง

    • สูตรการคำนวณ: (เงินเดือน / 30 /ชั่วโมงงานปกติ) X (1.5 เท่า) X (จำนวนชั่วโมงที่ทำโอที)
  • ถ้าทำงานในวันหยุดประจำสัปดาห์ หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ในเวลาปกติ 8 ชั่วโมง (ไม่รวมเวลาพัก 1 ชั่วโมง) จะได้รับค่าจ้างจำนวน 1 เท่าของค่าจ้างในวันทำงานตามชั่วโมงที่ทำงานในวันหยุด

    • สูตรการคำนวณ: (เงินเดือน / 30 /ชั่วโมงงานปกติ) X (1 เท่า) X (จำนวนชั่วโมงการทำงาน)
  • ถ้าทำงานในวันหยุดประจำสัปดาห์ หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ 9 ชั่วโมงขึ้นไป (ไม่รวมเวลาพัก 1 ชั่วโมง) จะได้รับค่าจ้างจำนวน 3 เท่าของค่าจ้างเป็นรายชั่วโมง

    • สูตรการคำนวณ: (ค่าจ้างต่อวัน / ชั่วโมงงานปกติ) X (3 เท่า) X (จำนวนชั่วโมงการทำงาน)

4. ‘วันหยุด’ ต่างๆที่ลูกจ้างสามารถใช้ได้

สิ่งสำคัญที่จะขาดไม่ได้เลยในชีวิตการทำงานนั่นก็คือ “วันหยุด” ซึ่งวันหยุดตามกฎหมายแรงงานมีทั้งหมด 3 แบบหลักๆคือ วันหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดตามประเพณี และวันหยุดพักผ่อนประจำปี

วันหยุดประจำสัปดาห์

กฎหมายแรงงานกำหนดให้มีวันหยุดประจำสัปดาห์อย่างน้อย 1 วัน โดยที่มีระยะเวลาห่างกัน 6 วัน สำหรับงานบริการที่ต้องเปิดให้บริการทุกวันสามารถเลื่อนวันหยุดประจำสัปดาห์ไปหยุดเมื่อใดก็ได้ภายในระยะเวลา 4 สัปดาห์ติดต่อกัน

วันหยุดตามประเพณี

กฎหมายมีการกำหนดให้มีการหยุดตามประเพณีไม่ น้อยกว่า 13 วัน/ปี วันหยุดตามประเภณี เช่น วันขึ้นปีใหม่ วันสงกรานต์ วันแรงงานแห่งชาติ วันวิสาขบูชา วันเฉลิมพระชนมพรรษา เป็นต้น ถ้าวันหยุดตามประเพณีตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์ จะต้องทำการชดเชยวันหยุดในวันทำงานถัดไป สามารถดูวันหยุดตามประเภณีได้ที่ “วันหยุดตามประเภณีปี 2567

วันหยุดพักผ่อนประจำปี

ลูกจ้างสามารถหยุดพักผ่อนโดยได้รับค่าตอบแทน ไม่น้อยกว่า 6 วันทำงาน/ปี (สำหรับลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 1 ปี )

*ส่วนใหญ่บริษัทเอกชนจะอนุญาติให้ใช้สิทธิลาหยุดได้หลังจากลูกจ้างผ่านช่วงทดลองงาน

**หากเลิกจ้าง หรือลูกจ้างลาออกเอง ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสม ตามที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับด้วย

5. สิทธิการลางานของลูกจ้า

นอกจากวันหยุดแล้ว ลูกจ้างยังมีสิทธิในการลางานโดยได้รับค่าตอบแทนด้วย ซึ่งสิทธิการลาตามกฎหมายแรงงานจะมี 5 อย่างหลักๆด้วยกันคือ ลาป่วย ลาคลอด ลากิจและลาเพื่อรับราชการทหาร แต่ในบทความนี้จะเน้นไปที่ลาป่วยและลากิจ

ลาป่วย

ลูกจ้างสามารถลาป่วยและได้รับค่าจ้างเป็นเวลา 30 วันทำงานต่อปี ซึ่งลาป่วย 1-2 วันไม่จำเป็นต้องมีใบรับรองแพทย์ แต่ถ้าลาป่วย 3 วันขึ้นไปจำเป็นต้องมีใบรับรองแพทย์ในการยืนยัน

ลากิจ

ตามกฎหมายแรงงานกำหนดให้ลูกจ้างสามารถลาเพื่อไปทำธุระที่จำเป็น(ไม่สามารถรอให้ถึงวันหยุด)ได้ปีละไม่น้อยกว่า 3 วัน สามารถใช้สิทธิได้ตั้งแต่ยังไม่ผ่านการทดลองงาน

ตัวอย่างการใช้สิทธิลากิจ

  • ติดต่อหน่วยงานราชการ ที่เปิดทำการเฉพาะวันจันทร์ ถึง ศุกร์
  • ลาเพื่อรับปริญญา (ของตัวเอง)
  • ลาฉุกเฉิน เช่นเกิดอุบัติเหตุ

การลากิจนั้นค่อนข้างมีความยืดหยุ่นในการใช้ แนะนำให้ลองถามฝ่ายบุคคลของบริษัทที่เราทำงาน

ทั้งนี้ยังมีสิทธิการลาแบบอื่นๆ สามารถอ่านรายละเอียดสิทธิการล่าอย่าละเอียดได้ที่ “สิทธิ "การลา" ตามกฎหมายแรงงานประเทศไทย

6. การบอกเลิกสัญญาการจ้างงาน

นอกจากมีการจ้างงานแล้วก็ต้องมีการเลิกจ้างด้วยเหมือนกัน ซึ่งการเลิกจ้างงานนี้เรียกทางกฎหมายว่า การบอกเลิกสัญญา คือการที่ลูกจ้างแจ้งลาออกหรือนายจ้างแจ้งยกเลิกการจ้างงานลูกจ้าง โดยการที่นายจ้างต้องการยกเลิกสัญญาจ้างต้องบอกลูกจ้างล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 1 รอบการจ่ายค่าจ้าง (เช่น นายจ้างจ่ายเงินเดือนทุก 30 วัน จะต้องบอกล่วงหน้า 30 วัน)

สามารถอ่านการเลิกจ้างอย่างละเอียดได้ที่ “บอกเลิกสํญญาจ้าง

ในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างแบบไม่มีเหตุ นายจ้างจะต้องบอกลูกจ้างล่วงหน้า และจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายดังนั้น

  • ลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน
  • ลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน
  • ลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน
  • ลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี มีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชยเท่ากับอัตราค่าจ้างสุดท้าย 240 วัน
  • ลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบ 10 ปีขึ้นไป มีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน

อ้างอิงจาก “สิทธิตามกฎหมายแรงงาน

สรุป

ที่ทุกคนได้อ่านนี้เป็นกฎหมายแรงงานเบื้องต้นที่เราได้สรุปข้อที่สำคัญๆที่ลูกจ้างต้องรู้ แต่ก็ยังมีหัวข้ออื่นๆ เช่น การจ่ายเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้าง สิทธิลาของลูกจาง สิทธิไดรับเงินทดแทน และอื่นๆ ลูกจ้างควรศึกษาเพิ่มเติมอย่างละเอียดเพื่อรักษาสิทธิของตัวเอง (ต้องการอ่านแบบละเอียดสามารถอ่านได้ที่ “กฎหมายแรงงาน”) สุดท้ายนี้ก่อนลูกจ้างจะเซ็นสัญญาการจ้างงาน ลูกจ้างต้องอ่านสัญญาจ้างงานอย่างละเอียดและระมัดระวังทุกครั้งก่อนเซ็นสัญญา ไม่ควรรีบเซ็นสัญญาในทันที

FAQ เกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน

หักเงินพนักงานมาสายได้ไหม?

นายจ้างไม่สามารถหักเงินพนักงานเพราะมาสายได้ ยกเว้นว่าหักเพื่อ ชำระภาษีเงินได้ ชำระค่าบำรุงสหภาพแรงงาน ชำระหนี้สินสหกรณ์ออมทรัพย์ เป็นเงินสะสมตามข้อตกลง

นายจ้างสามารถต่ออายุการทดลองงานของลูกจ้างได้ไหม?

นายจ้างสามารถต่ออายุการทดลองงานได้(พรบ.คุ้มครองแรงงานไม่ได้ระบุจำนวนวันของการทดลองงาน)

ถูกเลิกจ้างเพราะไม่ผ่านการทดลองงาน เรียกร้องค่าชดเชยได้ไหม?

ถ้าลูกจ้างทำงานไม่ถึง 120 วัน และถูกเลิกจ้างจะไม่สามารถเรียกค่าชดเชยจากนายจ้างได้

เข้ามาทำงานไม่ถึงเดือนแล้วลาออก จะได้รับค่าจ้างไหม?

ได้รับค่าจ้างตามจำนวนวันที่มาทำงาน (รวมวันหยุดประจำสัปดาห์)

นายจ้างสามารถเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่แจ้งล่วงหน้าได้ไหม?

สามารถทำได้****ถ้าลูกจ้างขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายนายจ้างสามารถเลิกจ้างโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าได้

Whether you're a job seeker or business looking to fill a position, our community is the perfect place to find and hire top talent.