Remote-friendly และ Remote-first ต่างกันยังไง?

Women on a video call

ในปัจจุบันที่การทำงานที่ไหนก็ได้หรือที่เรารู้จักกันว่า Work From Home นั้นกำลังมาแรง และอาจจะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในการเลือกของพนักงานบางคน ข่าวดีคือไม่ได้มีเฉพาะประเทศไทยเท่านั้น ในต่างประเทศก็มีนโยบายการทำงานระยะไกลเหมือนกันแต่จะใช้ชื่อเรียกที่ต่างกัน

ในต่างประเทศจะเรียกการทำงานระยะไกลว่า Remote work ซึ่งจะแบ่งออกได้อีก 2 ประเภทคือ Remote-friendly และ Remote-first ในบทความนี้เราจะมาดูกันว่าสองอย่างนี้แตกต่างกันอย่างไร

Remote-friendly:

Remote-friendly คือการที่บริษัทหรือองค์กรอนุญาตให้พนักงานสามารถทำงานระยะไกลได้เป็นบางวัน นโยบายของ Remote-friendly จะเหมือนไฮบริทเวิร์ค (Hybrid work) ที่ทุกคนรู้จักในประเทศไทย โดยบริษัทจะกำหนดวันที่พนักงานต้องเข้าบริษัทและวันที่สามารถทำงานระยะไกล เช่น เข้าบริษัท 3 วันต่ออาทิตย์และทำงานระยะไกลได้ 2 วันต่ออาทิตย์เป็นต้น ทั้งนี้เงื่อนไขจะเปลี่ยนตามแต่ละองค์กร

ข้อดีของ Remote-friendly

  • การทำงานมีความยืดหยุ่น
  • เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน (เพิ่มสมาธิและความจดจ่อในการทำงาน)
  • ช่วยลดค่าใช้จ่ายขององค์กร
  • ลดเวลาการเดินทาง เพิ่มเวลาการทำงาน
  • เครื่องมือในการทำงานส่วนใหญ่จะเป็นแบบ Cloud หรือ ออนไลน์ ที่สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ที่มีอินเทอร์เน็ต

ข้อเสียของ Remote-friendly

  • เนื่องจากทำงานคนละที่กับเพื่อนร่วมงานอาจจะทำให้เกิดข้อผิดพลาดในการสื่อสารหรือเกิดความล่าช้าในการติดต่อ
  • สื่อสารกันในทีมและระหว่างทีมน้อยลง
  • ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานอาจลดลง
  • อาจโดนดึงความสนใจได้ง่าย
  • มีโอกาสที่ข้อมูลของบริษัทจะรั่วไหลได้ง่าย

Remote-first

Remote-first คือนโยบายที่อนุญาตให้พนักงานสามารถทำงานระยะไกลได้โดยที่ไม่ต้องเข้าบริษัท และไม่ได้มีกำหนดหรือมีข้อบังคับว่าต้องเข้าบริษัทกี่ครั้งต่อสัปดาห์ ในบางบริษัทหรือองค์กรอาจจะกำหนดเป็นต่อเดือน เช่น เข้าออฟฟิศ 2 ครั้ง ต่อเดือน ถ้าพนักงานต้องการเข้ามาทำงานที่ออฟฟิศก็สามารถทำได้เช่นกัน

ข้อดีของ Remote-first

  • พนักงานมี Work Life Balance
  • กำหนดเวลาการทำงานที่เหมาะสมกับตัวเองได้
  • สามารถทำงานได้ในทุกสถานที่ที่มีอินเทอร์เน็ต
  • การทำงานแบบ Remote-first บังคับให้พนักงานต้องพึ่งพาการเขียนมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอีเมล เอกสาร รายงาน หรือข้อความในแชท การเขียนที่ชัดเจนและละเอียดจึงเป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสารข้อมูล ความคิด และการสั่งงาน
  • ใช้เวลาในการประชุมอย่างมีประสิทธิภาพ
  • มีติดตามความคืบหน้าของงานได้ทันที แก้ไขปัญหาได้รวดเร็ว
  • มีการตั้งเป้าหมายในการทำงานที่ชัดเจน

ข้อเสียของ Remote-first

  • ยากต่อการบริหารบุคคล
  • เนื่องจากทำงานคนละที่กับเพื่อนร่วมงานอาจจะทำให้เกิดข้อผิดพลาดในการสื่อสารหรือเกิดการล่าช้าในการติดต่อ
  • สื่อสารกันในทีมและระหว่างทีมน้อยลง
  • ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานอาจจะลดลง
  • มีโอกาสที่ข้อมูลของบริษัทจะรั่วไหลได้ง่าย

สรุป

หลังจากที่ได้อ่านบทความนี้แล้ว ผู้อ่านน่าจะเห็นภาพและเข้าใจเรื่องของ Remote-friendly และ Remote-first ถ้าผู้อ่านท่านใดอ่านแล้วสนใจการทำงานแบบ Remote work ในบริษัทต่างประเทศแต่ต้องการทำนั่งทำงานที่ประเทศไทย อาจจะลองใช้คีย์เวิร์ด Remote work ในการหางานในช่องทางต่างๆเช่น LinkedIn หรือ สมารถดูการรับสมัครงานแบบ Hybrid Work หรือ Remote work ที่ https://www.telepath.work/jobs/ (แหล่งรวมงานแบบ Hybride work และ Remote work) ได้เช่นกัน

บทความที่เกี่ยวข้อง

Whether you're a job seeker or business looking to fill a position, our community is the perfect place to find and hire top talent.