ไม่ว่าจะเป็นนักศึกษาจบใหม่หรือพนักงานที่มีประสบการณ์การทำงานแล้ว ก็หนีไม่พ้นการสัมภาษณ์งานอยู่ดี การสัมภาษณ์งานเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด เพื่อที่จะวัดว่าผู้สมัครนั้นเหมาะสมที่จะทำงานในตำแหน่งนั้นๆ ขององค์กรรึเปล่า การสัมภาษณ์งานไม่ได้ดูเพียง Hard skills เท่านั้นยังดูไปถึง Soft skills, Personality และ Logic thinking ของผู้สมัครด้วย เรามาดูกันว่าคำถามที่ HR จะถามเป็นประมาณไหนแล้วมีทริคการตอบยังไง
คำถามข้อแรกของการสัมภาษณ์งานทุกที่ จะเป็นการให้ผู้สมัครแนะนำตัวและเล่าประวัติการทำงานที่เคยทำมา ซึ่งคำถามนี้จะช่วยให้ผู้สมัครลดอาการตื่นเต้น เหมือนเป็นคำถามวอมอัพก่อนเข้าคำถามต่อไป
Tip 1: ในการตอบควรอธิบายประวัติการทำงานที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งที่ผู้สมัคร สมัครอย่างละเอียด เช่น หน้าที่รับผิดชอบอะไรบ้าง โปรเจกต์ที่เคยดูแลเกี่ยวกับอะไร เครื่องมือหรือโปรแกรมต่างๆ ที่ใช้ในการทำงาน และพูดย่อๆ ในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้อง
Tip 2: ในการแนะนำตัวเองอย่าลืมบอกชื่อเล่นของตัวเอง เพื่อที่จะใช้แทนตัวเองระหว่างสัมภาษณ์ เพราะหากผู้สมัครต้องการทำให้ HR นั้นจำผู้สมัครได้ผู้สมัครต้องพูดชื่อตัวเองระหว่างสัมภาษณ์บ่อยๆ
นักศึกษาที่พึ่งจบสามารถใช้โปรเจกต์ที่ทำตอนเรียนแทนประสบการณ์ทำงานได้
คำถามนี้เป็นอีกหนึ่งคำถามที่ผู้สมัครจะถูกถามแน่ๆ แน่นนอนว่าผู้สมัครต้องเตรียมคำตอบที่เหมาะสม และน่าเชื่อถือ ถึงแม้ว่าคำตอบที่แท้จริงคือการที่ผู้สมัครเบื่องาน หมดไฟ หรือเจ้านายไม่ดี
Tip 1: ไม่ควรพูดถึงข้อเสียของบริษัทเดิมที่เป็นการทําลายภาพลักษณ์และไม่ให้เกียรติ หากต้องพูดควรเลี่ยงคำที่ไม่สุภาพ และรุนแรง
Tip 2: อาจจะตอบไปในทางที่ว่า อยากได้งานที่ท้าทายมากขึ้น อยากทำงานกับคนที่หลากหลายมากขึ้น หรือรู้สึกว่างานที่เก่าเริ่มไม่ตอบโจทย์การทำงาน เป็นต้น
คำถามนี้เป็นการถามเพื่อดูว่าตัวผู้สมัครนั้นรู้จักตัวเองมากน้อยแค่ไหน สิ่งที่ผู้สมัครควรตอบคือจุดแข็งและจุดอ่อนที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งที่คุณสมัคร เช่น จุดแข็งของคุณคือเข้าใจในเครื่องมือของตำแหน่งนี้และสามารถหยิบเครื่องมือต่างๆมาทำงานร่วมกันเพื่อให้เกิดประสิธิภาพได้มากที่สุด
ในส่วนของจุดอ่อนผู้สมัครไม่ควรพูดแค่ว่าจุดอ่อนของคุณคืออะไรแต่ให้บอกวิธีแก้ไขจุดอ่อนนั้นด้วย เช่น เป็นคนที่ใช้ภาษาอังกฤษไม่ได้แข็งมาก แต่ส่วนตัวมีการลงคอร์สเรียนเพื่อพัฒนาสกิลในส่วนนี้ให้ดีขึ้น เป็นต้น
Tip 1: ไม่ควรตอบอะไรที่เป็นธรรมดาทั่วไปที่ไม่สามารถวัดได้ เช่น เป็นคนที่เรียนรู้เร็ว เป็นคนที่สามารถทำงานเป็นทีมได้หรือเป็นคนที่ควบคุมอารมณ์ได้ ถ้าหากจะสื่อถึงจุดแข็งตรงนี้แนะนำให้เอาไปใส่ในส่วนของการเล่า Achievement
เป็นคำถามที่จะให้อธิบายเกี่ยวกับโปรเจกต์ที่ผู้สมัครภูมิใจมากที่สุดที่ได้ทำมา เป็นโอกาสที่ผู้สมัครจะได้โชว์ความสามารถจากคำถามนี้ ควรอธิบายตั้งแต่ขั้นตอนแรกไปจนถึงขั้นตอนสุดท้ายอย่างละเอียดว่าผู้สมัครเริ่มโปรเจกต์ได้ยังไง ปัญหาระหว่างทางผู้สมัครแก้ไขยังไง
Tip: อย่าลืมที่จะให้เครดิตกับทีมอื่นหรือคนอื่นหากได้รับความช่วยเหลือในการทำโปรเจกต์ จะช่วยให้ผู้สัมภาษณ์มองเห็นว่าผู้สมัครสามารถทำงานเป็นทีมได้
นักศึกษาที่พึ่งจบสามารถใช้โปรเจกต์ที่ตัวเองภูมิใจตอนเรียนมาตอบได้
เป็นเรื่องธรรมดาที่จะเกิดการผิดพลาดในการทำงาน ซึ่งถ้าผู้สมัครจะบอกว่าไม่เคยผิดพลาดเลยนั้นอาจจะเป็นผลเสียสำหรับผู้สมัคร เพราะอาจจะมองว่ามีอีโก้หรืออาจจะไม่ยอมรับความผิดของตัวเอง ทางที่ดีควรตอบตามความจริง แต่ให้เพิ่มข้อมูล 2 อย่างเข้าไป คือ ได้เรียนรู้อะไรจากข้อผิดพลาดนี้ และวิธีที่แก้ไขเพื่อไม่ให้เกิดปัญหานี้อีกในอนาคต
เป็นอีกคำถามที่จะดูไหวพริบการตอบของผู้สมัครว่า การที่ผู้สมัครได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของทีมผู้สมัครจะสามารถช่วยเหลือหรือทำอะไรให้กับทีมได้บ้าง หรือทีมจะดีขึ้นอย่างไร
Tip: นอกจากการตอบแค่ว่าจะช่วยทีมให้ดีขึ้นอย่างไรแล้ว อาจจะมองภาพให้ไกลขึ้นถ้าเกิดทีมที่ผู้สมัครได้เข้าไปร่วมงานดีขึ้นนั้นจะช่วยทำให้บริษัทดีขึ้นได้ยังไง เช่น ถ้าผู้สมัครสมัครในตำแหน่งเมเนเจอร์ผู้สมัครอาจจะบอกว่า ถ้าได้มีโอกาสร่วมกันสิ่งที่จะช่วยทีมได้คือ การที่จะ assign งานให้เหมาะกับสิ่งที่คนในทีมต้องการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะของคนในทีม และใช้ความรู้จากประสบการณ์ทำให้คนในทีมทำงานได้ราบรื่นและได้เรียนรู้มากขึ้น ทั้งนี้ถ้าคนในทีมเก่งขึ้นก็จะทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ข้อผิดพลาดก็จะลดลงและจะช่วยให้บริษัทสามารถรับงานได้มากขึ้น เป็นต้น
เป็นคำถามที่จะดูว่าผู้สมัครวางแผนการเติบโตในอาชีพของตัวอนาคตไว้ยังไง
Tip 1: คำตอบควรสอดคล้องกับตำแหน่งที่สัมภาษณ์ เช่น สัมภาษณ์ตำแหน่ง พนักงานการตลาด ในอนาคตอีก 5 ปี อาจจะมองว่าตัวเองเป็นหัวหน้าแผนกการตลาด เป็นต้น
Tip 2: ควรอธิบายเพิ่มว่าแผนในการไปถึงตำแหน่งนั้นใน 5 ปี จะทำอย่างไร และถ้าไปถึงจุดนั้นแล้วจะมีอะไรเปลี่ยนแปลงและจะช่วยให้บริษัทดีขึ้นได้อย่างไร เช่น มองว่าตัวเองใน 5 ปีข้างหน้า ผมน่าจะเป็นหัวหน้าแผนกการตลาดที่สามารถตัดสินใจโปรเจกต์ใหญ่ๆได้ด้วยตัวเอง และสามารถเป็นที่ปรึกษาให้กับน้องๆได้ในทุกปัญหา และเป็นหัวหน้าที่เปิดรับความเห็นที่แตกต่างในการทำงาน เป็นต้น
ถ้ามีคำถามนี้มาแสดงว่าผู้สมัครมีโอกาสค่อนข้างสูงที่จะได้งานนี้ แน่นอนว่าผู้สมัครไม่ได้ยืนสมัครงานที่เดียวแน่นอน ผู้สมัครควรตอบตามความเป็นจริง และเพิ่มบางส่วนเข้าไป เช่น หลังจากได้สัมภาษณ์กับบริษัทนี้แล้ว รู้สึกว่าอยากร่วมงานกับบริษัทนี้เพราะเป็นสโคปงานที่อยากทำ และคิดว่าจะได้เรียนรู้เยอะเมื่อเทียบกับที่อื่น
แน่นอนว่าในแต่ละตำแหน่งทางบริษัทจะตั้งงบประมาณเอาไว้ ในคำถามนี้ผู้สมัครสามารถถามผู้สัมภาษกลับได้ว่า ปกติแล้วในตำแหน่งนี้ของบริษัทจะได้เงินเดือนที่ประมาณเท่าไหร่ เพื่อที่จะเช็คว่างบของบริษัทตรงกับที่ผู้สมัครต้องการรึเปล่า
ดีใจด้วยคุณเดินทางมาถึงคำถามสุดท้ายของการสัมภาษณ์แล้ว ซึ่งคำถามนี้จะเปิดโอกาสให้ผู้สมัครได้ถามคำถามในส่วนที่ตนเองอยากรู้เพิ่มเติม ซึ่งถ้าใครคิดไม่ออกว่าต้องถามคำถามอะไร ทางเราได้เตรียมตัวอย่างคำถามไว้ให้
ทั้งหมดเป็นคำถามที่มีโอกาสเจอสูงในการสัมภาษณ์งาน แต่ถ้าเจอคำถามนอกเหนือจากนี้ อยากให้ผู้สมัครตั้งใจฟังคำถามและตั้งสติก่อนตอบ และถ้าเป็นคำถามที่ซับซ้อนหรือต้องใช้เวลาในการคิด ให้ใช้เวลาคิดให้รอบคอบและไม่ต้องกดดันเพราะผู้สัมภาษณ์อาจจะต้องการดูไหวพริบในการตอบคำถามและวิธีแก้ปัญหาของผู้สมัคร
ทั้งนี้ Tips ที่มีการใส่ไปในแต่ละข้อเป็นการตอบจากประสบการ์ของผู้เขียนที่ได้ใช้ในการสัมภาษณ์จริง อาจจะใช้เป็นแนวทางในการตอบและปรับให้เข้าประสบการณ์ของผู้สมัครเอง
อย่าลืมว่าผู้สมัครก็เป็นคนเลือกบริษัทเพื่อเข้าทำงานเหมือนกัน ดังนั้นเรามีสิทธิที่จะถามคำถามเพื่อให้ได้งานและบริษัทตรงตามที่ผู้สมัครต้องการที่สุด
Copyright © 2024 Telepath. All rights reserved. | Terms | Privacy | Cookie | Acceptable use